01-article-detail.jpg

 

WHY GAME-BASED LEARNING
ข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) เสนอว่าการใช้ Game-Based Learning เป็นหนึ่งในกระบวนการ ที่ช่วยสร้างทักษะแห่งอนาคตให้เด็กๆ ก้าวทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

1 Problem-solving การแก้ปัญหา

2 Collaboration and teamwork การร่วมมือและทีม
3 Adaptability and resilience การปรับตัวและความยืดหยุ่น

4 Decision-making การตัดสินใจและผลกระทบ

5 Time management การจัดการเวลา

6 Digital literacy ทักษะดิจิตัลและเทคโนโลยี

7 Creativity and innovation ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

8 Self-improvement การพัฒนาตนเอง

 

Infographic-(edit5vvvvvv).jpg

 

ทำไมต้องเรียนรู้แบบ Game-Based Learning?
องค์กร World Economic Forum (WEF) วิจัยออกมาว่าทักษะที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในศตวรรษที่ 21 คือทักษะการใช้ชีวิตให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ

การใช้ Game-Based Learning จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างทักษะแห่งอนาคตให้กับเด็กๆ ยุคนี้ได้ ผลการวิจัยยังบอกอีกว่า 65% ของเด็กที่เรียนอยู่ในตอนนี้จะต้องทำงานในอาชีพที่แตกต่างจากปัจจุบันนี้อย่างสิ้นเชิง นั่นหมายความว่า

 
“สิ่งที่เด็กเรียนอยู่ในตอนนี้ อาจจะไม่เหลืออาชีพนั้นให้ทำในอนาคตแล้ว”

การใช้เกมเป็นสื่อการสอน (Game-Based Learning) จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Education Solution ที่จะสร้างให้เด็กยุคใหม่นั้นก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยทักษะที่สำคัญที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้คือ 

1 Problem-solving การแก้ปัญหา
กมมักจะมอบภารกิจและปัญหาที่ต้องการความคิดวิเคราะห์ เช่น การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่ต้องการการคิดอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้แบบเกมสามารถช่วยพัฒนาทักษะในการระบุปัญหา การประเมินตัวเลือก และการวางกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา

2 Collaboration and teamwork การร่วมมือและทีม
ได้เรียนรู้การสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทักษะเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงที่ต้องการการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3 Adaptability and resilience การปรับตัวและความยืดหยุ่น
เรียนรู้จากโจทย์หรือภารกิจที่ไม่คาดคิด ทำให้ผู้เล่นต้องปรับกลยุทธ์และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ การเรียนรู้แบบเกมสามารถช่วยสร้างทักษะการแก้ปัญหา  และความสามารถในการปรับวิธีการในกรณีที่เผชิญกับอุปสรรค

 

4 Decision-making การตัดสินใจและผลกระทบ
เรียนรู้และเข้าใจความสัมพันธ์สาเหตุและผลกระทบของการตัดสินใจที่เขาทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งสร้างความสามารถในการตัดสินใจและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง

 

 

03-article-detail.jpg

 

5 Time management การจัดการเวลา
การเรียนรู้ผ่านเกมสามารถพัฒนาทักษะในการจัดการเวลา และการกำหนดลำดับความสำคัญ
ซึ่งเป็นทักษะที่มีค่าในการทำงานและใช้ชีวิตของเด็กๆ ในอนาคต

 

6 Digital literacy ทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยี
เรียนรู้พัฒนาทักษะดิจิทัลและความถนัดในการใช้เทคโนโลยี ผู้เรียนเริ่มค้นพบการใช้เครื่องมือต่างๆ ในเกม ซึ่งเพิ่มทักษะทางดิจิทัลโดยรวมและความสามารถทางเทคโนโลยีของผู้เรียน

 

7 Creativity and innovation ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงสร้างสรรค์ และพบวิธีการแก้ปัญหาที่นวัตกรรมเพื่อเอาชนะอุปสรรค การเรียนรู้แบบเกมสามารถกระตุ้นจินตนาการ และความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ในบริบทที่แตกต่าง

 

8 Self-improvement การพัฒนาตนเอง
การเรียนรู้ผ่านเกม จะติดตามความก้าวหน้า ระบบการให้ข้อมูลคำแนะนำ และโอกาสในการปรับปรุงตนเอง ผู้เล่นถูกกระตุ้นให้เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง พยายามหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ งานวิจัยของ WEF บอกไว้ชัดเจนว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 นั้นต้องถูกสร้างอยู่ตลอดเวลาจึงจะเห็นผล ทั้งในห้องเรียน และ นอกห้องเรียน พ่อแม่ยุคใหม่จึงจะต้องปูพื้นฐานทักษะในศตวรรศที่ 21 เพื่อให้เด็กๆ มีทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็น เพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก
https://www.weforum.org/